ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุด
หลายท่านที่ต้องการต่อเติมบ้านให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอยโดยรอบบ้าน อาทิเช่น ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ, ต่อเติมครัวไฟ, ต่อเติมห้องนั่งเล่นหรือพื้นที่อื่นๆ ออกไป ไม่ว่าจะ 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์และอยู่ได้ระยะยาว
ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุดนั้นจึงสำคัญมาก
ลักษณะส่วนต่อเติมทรุดเบื้องต้น รู้ก่อน ซ่อมก่อน ผลกระทบน้อยกว่า
ปัญหาที่ส่วนใหญ่ที่ส่วนต่อเติมทรุด อาจจะพบปัญหาตามมาได้ หากไม่พิจารณาถึงปัจจัยดังนี้
ส่วนต่อเติมมีการทรุดเพราะโครงสร้างพื้น
มักพบได้บ่อยหากส่วนต่อเติมได้ออกแบบเป็นพื้นวางบนดิน (SLAP ON GROUND) ซึ่งหากพื้นดินในบริเวณดังกล่าว อยู่บริเวณที่ดินอ่อน เช่น บริเวณสมุทรปราการสมุทรสาคร อาจมีความเสียหายสูง เพราะดินอ่อนไม่สามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้
ดังนั้นควรออกแบบโครงสร้างเป็นระบบพื้นคานเสา ค่าก่อสร้างสูงกว่าแต่อยู่ได้ระยะยาว
ส่วนต่อเติมใช้เข็มสั้น
ส่วนต่อเติมที่มีการเลือกใช้เสาเข็มสั้น สามารถเกิดการทรุดตัวได้ แต่อาจเกิดขึ้นน้อยกว่าส่วนต่อเติมที่ไม่มีการลงเสาเข็ม ทั้งนี้ การทรุดตัวขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเข็มที่ใช้ และน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
การเลือกเสาเข็มจึงต้องคำนวณให้พอดีกับน้ำหนักบรรทุกของอาคาร และใช้เข็มที่สามารถวัดกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มได้
ซึ่งการทรุดตัวของส่วนต่อเติม จะส่วนผลให้เกิดรอยแตกร้าวที่บริเวณรอยต่ออาคารหลักและอาคารส่วนต่อเติม รอยแตกที่พื้นกระเบื้อง ซึ่งรอยแตกร้าวจะเป็นรอยแตกร้าวทะลุ พื้นจะมีลักษณะเอียงประกอบกัน
ดังนั้นแล้ว หากต้องการแก้ปัญหาระยะยาวของส่วนต่อเติม การใช้เสาเข็มยาวจะเป็นการแก้ปัญหาการทรุดตัวต่างๆ สำหรับพื้นที่บริเวณดินอ่อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น การใช้เสาเข็มเจาะ หรือเสาเข็มตอก เพื่อให้เสาเข็มได้วางอยู่บนชั้นดินดานหรือทรายแน่น
การต่อเติมปัจจัยหลักคืดการเลือกใช้เสาเข็มให้เหมาะกับพื้นที่ ควรปรึกษาวิศวกร เพื่อให้ได้ขนาดเสาเข็มและความยาวเสาเข็มที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ และรูปแบบอาคาร หรือหากเลือกใช้เสาเข็มสั้น ความยาว 3-6 ม. ควรแยกส่วนโครงสร้างของอาคารหลักและอาคารเดิมออกจากกัน เช่นในส่วนของโครงหลังคา หรือบริเวณพื้นรอยต่อ เพื่อให้ส่วนต่อเติมดังกล่าวมีการทรุดตัวแยกจากตัวโครงสร้างหลักออกไป
บทความที่เกี่ยวข้อง