ทดสอบและตรวจสอบโครงสร้างอาคาร

การทดสอบโครงสร้างอาคารที่ชำรุด บกพร่อง เช่น อาคารเก่า อาคารเสื่อมสภาพ อาคารไฟไหม้ อาคารทรุดตัว อาคารต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน หรืออาคาร โรงงานที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักบรรทุก เพื่อทดสอบและตรวจสอบโครงสร้างว่าสามารถใช้งานหรือควรปรับปรุงโครงสร้างอาคารในแนวทางใด

วิธีการตรวจสอบโครงสร้างแบบไม่ทำลาย

  • การสำรวจสภาพความเสียหายทางกายภาพ (Visual Inspection)
  • การตรวจสอบวัดค่าการทรุดตัว และติดตามผลการทรุดตัว (Settlement Survey and Monitoring)

  • การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต โดยวิธี Rebound Hammer Test

  • การทดสอบค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต โดยวิธี Ultra Pulse Velocity

  • การตรวจสอบโอกาสการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยวิธี Half Cell Potential

วิธีการตรวจสอบโครงสร้างแบบทำลาย

  • การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต โดยวิธี Coring Test

  • การตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสริมของ พื้น คาน และเสา ค.ส.ล. โดยการสกัดเหล็กเสริม หรือ Ferro scan
  • การตรวจสอบสภาพการเกิดคาร์บอเนชั่นในคอนกรีต (Carbonation Depth Test)

  • การตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ในคอนกรีต (Chloride Test)

  • การตรวจสอบกำลังรับแรงดึงของเหล็กเสริม (Tensile Test)

  • การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นและคาน ค.ส.ล.โดยวิธี Static Load Test

  • การขุดสำรวจฐานราก

  • การตรวจสอบความยาวของเสาเข็มโดยวิธี Parallel Seismic Test

รายละเอียดการทดสอบแบบต่าง

การตรวจสอบสภาพความเสียหายโครงสร้างอาคารทางกายภาพ มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจสภาพอาคารโดยทั่วไป และบันทึกภาพ พร้อมทั้งระบุตำแหน่งของอาคารที่พบลักษณะความผิดปกติ หรือสงสัยว่ามีความบกพร่องทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น บริเวณที่พบเหล็กเสริมขององค์อาคารเกิดสนิม, คอนกรีตหลุดร่อน หรือคอนกรีตกะเทาะ, พบรอยร้าวที่โครงสร้างอาคาร เป็นต้น

การสำรวจการทรุดตัวของโครงสร้าง (Settlement Survey) มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบค่าระดับโครงสร้างปัจจุบัน โดยทำการวัดในตำแหน่งของโครงสร้างเสา    ค.ส.ล. โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของอาคาร
  2. ขั้นตอนการสำรวจการทรุดตัวของโครงสร้าง
  3. ประเมินการทรุดตัวของอาคาร
การทดสอบกำลังแรงอัดสูงสุดรูปทรงกระบอกของคอนกรีต (Maximum  Cylindrical  Compressive  Strength of Concrete.) ของโครงสร้างอาคาร ค.ส.ล. โดยใช้เครื่องมือ Rebound Hammer Test. ตามมาตรฐาน ASTM C805 เป็นการตรวจสอบความแข็งแรงของคอนกรีตโครงสร้างแบบไม่ทำลาย  (NON – DESTRUCTIVE TEST.)

การตรวจสอบคุณภาพคอนกรีต โดยวิธี Ultra Pulse Velocity เป็นการตรวจสอบโดยวัดความเร็วของคลื่นที่เดินทางระหว่างอุปกรณ์ตัวส่ง (Transmitter) กับอุปกรณ์ตัวรับ (Receiver) ผ่านคอนกรีตที่ทำการทดสอบ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของ ASTM C597,  BS 1881: Part 203 และมยผ. 1504-51

การตรวจสอบการเกิดสนิมของเหล็กเสริมโดยใช้เครื่องมือ Corrosion Analyzing Instrument เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งจะบอกปริมาณการเกิดสนิมในเหล็ก ที่เกิดการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเหล็กบริเวณที่ต้องการตรวจสอบได้ เช่น เหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในบริเวณที่ทำการตรวจสอบ

การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต เป็นการทดสอบกำลังอัดจากแท่งตัวอย่างที่เก็บมากดทดสอบด้วยเครื่องทดสอบกำลังรับแรงอัด ตามมาตรฐานของ ASTM C39 และ ASTM C42 โดยการสุ่มตำแหน่งการเก็บตัวอย่าง เป็นจำนวนตามที่วิศวกรให้คำแนะนำ ในบริเวณต่างๆ ของอาคาร

การหาตำแหน่งเหล็กเสริมในคอนกรีตภายหลังหล่อแล้วเสร็จ โดยวิธีแสกนด้วยเครื่องทดสอบ ซึ่งเครื่องจะส่งสัญญาณเสียงขึ้นหากพบตำแหน่งเหล็กเสริม และจะทำการแสดงตำแหน่งและขนาดของระยะหุ้มเหล็กเสริม

มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบการเกิดคาร์บอเนชั่นในคอนกรีต ซึ่งมีผลต่อโอกาสในการเกิดสนิมของเหล็กเสริม ซึ่งสนิมในเหล็กเสริมจะส่งผลให้กำลังของโครงสร้างลดลง ผลของการเกิดคาร์บอเนชั่นจึงทำให้ความเป็นด่างในคอนกรีตลดลง ซึ่งส่งผลเสียต่อความคงทนของคอนกรีตดังกล่าว

มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ในคอนกรีต ซึ่งปริมาณคลอไรด์มีผลต่อโอกาสในการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยที่ทำให้ความต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมลดลง และเมื่อถึงจุดวิกฤตแล้ว ถ้ามีน้ำและออกซิเจนเพียงพอ ก็จะทำให้เหล็กเกิดสนิมได้

ทำการเก็บตัวอย่างเหล็กเสริม โดยมีความยาวประมาณ 0.50 – 1 ม. นำไปทดสอบกำลังรับแรงดึงของเหล็กเสริม เพื่อใช้ประกอบการคำนวณโครงสร้าง

การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างพื้นและคาน ค.ส.ล. มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักของโครงสร้างจริงที่มีการใช้งานแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันหลังจากสร้างเสร็จ โดยเป็นไปตามมาตรฐาน ACI 318 Chapter 20 (STRENGTH EVALUATION OF EXISTING STRUCTURES)

เพื่อประเมินความสมบรูณ์ของฐานรากและเสาเข็ม ซึ่งเก็บข้อมูลการสำรวจด้วยตาเปล่า วัดตำแหน่ง/ขนาด ของฐานรากและเสาเข็ม ประกอบกับใช้เครื่องมือ Seismic Test และ Parallel Seismic Test เพื่อวัดความสมบูรณ์และความยาวของเสาเข็ม เพื่อนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ร่วมกับผลการเจาะสำรวจดิน ก็จะทราบว่า ฐานรากอาคารนั้นๆ สามารถรับน้ำหนักบรรทุกตามที่ใช้งานได้หรือไม่

มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความยาวของเสาเข็มโครงสร้าง และนำมาประกอบกับผลการเจาะสำรวจดิน เพื่อประมาณค่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มโครงสร้าง

RECENT PROJECT