เรื่องโครงสร้างกับการรีโนเวทอาคาร

โครงสร้างอาคารย่อมมีอายุการใช้งานหรืออาจได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ น้ำท่วม โครงสร้างอาคารก็ย่อมเสื่อมสภาพได้เช่นกัน

หากเราต้องการปรับปรุงรีโนเวทอาคาร ก็จึงควรตรวจสอบว่าโครงสร้างของอาคารนั้นยังแข็งแรงอยู่มั้ย? เพี่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ให้คุ้มกับที่เราลงทุนรีโนเวทไป

การตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างอาคารก่อนการรีโนเวทจึงสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เงินลงทุนนั้นเสียเปล่า

เรื่องโครงสร้างกับการรีโนเวทอาคาร

โครงสร้างอาคารย่อมมีอายุการใช้งานหรืออาจได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ น้ำท่วม โครงสร้างอาคารก็ย่อมเสื่อมสภาพได้เช่นกัน

หากเราต้องการปรับปรุงรีโนเวทอาคาร ก็จึงควรตรวจสอบว่าโครงสร้างของอาคารนั้นยังแข็งแรงอยู่มั้ย? เพี่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ให้คุ้มกับที่เราลงทุนรีโนเวทไป

การตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างอาคารก่อนการรีโนเวทจึงสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เงินลงทุนนั้นเสียเปล่า

แนวทางการพิจารณาเพื่อปรับปรุงอาคารเบื้องต้น

การตรวจสอบโครงสร้าง ด้วยตาเปล่า

ในเบื้องต้นเราสามารถพิจารณาว่าโครงสร้างเดิมมีปัญหาหรือไม่ โดยดูได้จาก

รอยร้าวที่เสา คาน และพื้น โดยมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ เช่น การใช้น้ำหนักสูงกว่าที่โครงสร้างปัจจุบันจะรับได้

รอยร้าวที่ผนังนั้นจะเป็นรอยร้าวในแนวเฉียง ซึ่งเกิดจากการทรุดตัว อาจจะแตกทะลุหรือไม่ก็ได้

ในบริเวณเสาคานพื้น มีการกระเทาะของปูนฉาบ อาจมีปัญหามาจากเหล็กเสริมภายในเป็นสนิม หรือเกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกินหรือไม่

การเกิดคราบความชื้นนั้น แสดงให้เห็นว่ามีน้ำเข้ามาภายในอาคาร หากมีน้ำขังหรือผ่านโครงสร้างคอนกรีตที่มีรูจะทำให้เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม

เปลี่ยนแปลง น้ำหนักบรรทุก ของอาคาร

ในการก่อสร้างอาคารที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีการออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ดังนี้

ประเภทการใช้งาน น้ำหนักบรรทุกจร (กก./ตร.ม.)
1.ที่พักอาศัย 150
2.ห้องแถว ตึกแถว หอพัก โรงแรม 200
3.สำนักงาน 250
4.อาคารพาณิชย์ โรงเรียน โรงพยาบาล ทางเดินของหอพัก โรงแรม 300
5.ตลาด อาคารสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องสมุด ที่จอดรถยนต์ ทางเดินของอาคารพาณิชย์และโรงเรียน 400
6.คลังสินค้า โรงกีฬา พิพิธภัณฑ์ อัฒจันทร์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพิมพ์ ห้องเก็บของ

ห้องโถง ทางเดินของตลาด อาคารสรรพสินค้า ห้องประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องสมุดและหอสมุด

500
7.ห้องเก็บหนังสือของห้องสมุด 600
8.ที่จอดรถหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่า 800

กรณีการประเมินเบื้องต้น คือ

  • อาคารเดิมก่อนปรับปรุงสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ หมายความว่า หากเป็นอาคารที่สร้างมานานแล้ว อาทิเช่น 20-30 ปี โครงสร้างยังสามารถรับน้ำหนักได้ตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ เพราะอายุของคอนกรีตอาจมีความเสื่อมได้หรือคอนกรีตไม่ได้คุณภาพ

  • อาคารที่ต้องการเพิ่มชั้นอาคาร อาทิเช่น จากเดิม 3 ชั้น เพิ่มเป็น 4 ชั้นหรือมากกว่า ย่อมส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักของโครงสร้างและฐานรากอาคารที่ได้ออกแบบไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นชั้นดาดฟ้าก็ตามที หากนำของไปเก็บไว้ที่ดาดฟ้า ซึ่งออกแบบพื้นชั้นดาดฟ้าให้รับน้ำหนักเพียง 150 กก./ตร.ม. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างโดยตรง

  • อาคารที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้งาน อาทิเช่น ต้องการเปลี่ยนแปลงจากอาคารพักอาศัย ไปเป็นโรงแรมหรือหอพัก สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ จากเดิมอาคารสามารถรับน้ำหนักได้ 150 กก./ตร.ม. ต้องเสริมโครงสร้างให้อาคารรับน้ำหนัก 200 กก./ตร.ม. และทางเดินต้องรับน้ำหนักได้ 300 กก./ตร.ม. เป็นต้น

บ้าน อาคารอายุเกินกว่า 20-30 ปี

อาคารที่สภาพเดิมยังดูดี ไม่มีรอยแตกร้าว แต่ต้องการตรวจสอบความปลอดภัย เนื่องจากอาคารใช้งานมานาน 20-30 ปี แต่ยังมีลักษณะการใช้งานเหมือนเดิม

กรณีนี้ สามารถตรวจสอบโดยการพินิจ (Visual Inspection) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเดินสำรวจอาคาร พิจารณารอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นเบื้องต้น ว่าเป็นรอยแตกร้าวเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อการรับน้ำหนักอาคารหรือเชิงสถาปัตย์ ที่เกี่ยวกับความสวยงาม ซึ่งสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า

นอกจากนี้ อาจพิจารณาการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non Destructive Test) เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการประเมินโครงสร้างเบื้องต้น โดยให้วิศวกรเป็นผู้พิจารณา ขึ้นอยู่กับสภาพอาคารหน้างาน