บ้านทรุด

เสาเข็มไมโครไพล์ คือ อะไร มาทำความรู้จักกัน

2024-03-14T08:40:40+07:00

เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile ปัจจุบัน เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่นิยมนำมาใช้ในการต่อเติม ปรับปรุงอาคาร เนื่องจากมีขนาดเล็ก ขนย้ายสะดวก และเวลาทำงานไม่เลอะเทอะ เมื่อเปรียบเทียบกับเสาเข็มเจาะ ปัจจุบันมีเสาเข็มหลายรูปแบบ ทั้งเสาเข็มรูปตัวไอ รูปสีเหลี่ยม หรือเป็นเสาเข็มสปัน นอกจากนี้ยังมีเสาเข็มเหล็กที่ใช้ในงานที่เน้นรับแรงถอน เสาเข็มท่อเหล็ก เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เสาเข็มสปัน ขนาดท่อนเสาเข็มยาวท่อนละ 1.00, 1.50, 2.00 ม. ต่อเชื่อมโดยการเชื่อมแผ่นเหล็กบริเวณหัวเสาเข็มแต่ละท่อน และตอกโดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กสูงประมาณ 3 ม. หรือ สามารถใช้เฟรมเหล็กตั้งสำหรับกดเสาเข็มดังกล่าวก็ได้ การเลือกเสาเข็มไมโครไพล์ กำลังรับน้ำหนัก เราสามารถรู้น้ำหนักอาคารได้จากการออกแบบทางวิศวกรรม ทำให้เราสามารถระบุขนาดหน้าตัดของเสาเข็มได้ เนื่องจากอาคาร 1 ชั้น หรือ 3 ชั้น จะมีน้ำหนักอาคารที่แตกต่างกัน ความยาวเสาเข็ม เราสามารถรู็ความยาวเสาเข็มได้จาก • การเจาะสำรวจดิน เพื่อหาชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักได้ • การตอกเสาเข็ม โดยใช้การนับ Blow count/foot. พื้นที่หน้างาน • สำหรับพื้นที่โล่ง สามารถเลือกใช้เป็นปั้นจั่นตอกเสาเข็ม • สำหรับพื้นที่แคบ อาจพิจารณาเป็นการตั้งเฟรม เพื่อกดเสาเข็ม หรือใช้สว่านติดตั้งอุปกรณ์เสาเข็มแทน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเสาเข็มของเรานั้นสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ต้องการแล้วหรือยัง เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้ กรณีปั้นจั่นตอกเสาเข็ม [...]

เสาเข็มไมโครไพล์ คือ อะไร มาทำความรู้จักกัน2024-03-14T08:40:40+07:00

ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุด

2020-09-29T17:07:53+07:00

ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุด หลายท่านที่ต้องการต่อเติมบ้านให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอยโดยรอบบ้าน อาทิเช่น ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ, ต่อเติมครัวไฟ, ต่อเติมห้องนั่งเล่นหรือพื้นที่อื่นๆ ออกไป ไม่ว่าจะ 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์และอยู่ได้ระยะยาว ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุดนั้นจึงสำคัญมาก ลักษณะส่วนต่อเติมทรุดเบื้องต้น รู้ก่อน ซ่อมก่อน ผลกระทบน้อยกว่า มีน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ ผนังส่วนต่อเติมแยกออก พื้นทรุดลง อาจยังไม่เห็นด้วยตาเปล่า สามารถนำลูกแก้วมากลิ้ง แล้วลองดูทิศทางว่าไปในทางเดียวกันหรือไม่ ประตู หน้าต่างปิดเปิดเริ่มฝืด ปัญหาที่ส่วนใหญ่ที่ส่วนต่อเติมทรุด อาจจะพบปัญหาตามมาได้ หากไม่พิจารณาถึงปัจจัยดังนี้ ส่วนต่อเติมมีการทรุดเพราะโครงสร้างพื้น มักพบได้บ่อยหากส่วนต่อเติมได้ออกแบบเป็นพื้นวางบนดิน (SLAP ON GROUND) ซึ่งหากพื้นดินในบริเวณดังกล่าว อยู่บริเวณที่ดินอ่อน เช่น บริเวณสมุทรปราการสมุทรสาคร อาจมีความเสียหายสูง เพราะดินอ่อนไม่สามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้ ดังนั้นควรออกแบบโครงสร้างเป็นระบบพื้นคานเสา ค่าก่อสร้างสูงกว่าแต่อยู่ได้ระยะยาว ส่วนต่อเติมใช้เข็มสั้น ส่วนต่อเติมที่มีการเลือกใช้เสาเข็มสั้น สามารถเกิดการทรุดตัวได้ แต่อาจเกิดขึ้นน้อยกว่าส่วนต่อเติมที่ไม่มีการลงเสาเข็ม ทั้งนี้ การทรุดตัวขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเข็มที่ใช้ และน้ำหนักบรรทุกใช้งาน การเลือกเสาเข็มจึงต้องคำนวณให้พอดีกับน้ำหนักบรรทุกของอาคาร และใช้เข็มที่สามารถวัดกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มได้ ซึ่งการทรุดตัวของส่วนต่อเติม จะส่วนผลให้เกิดรอยแตกร้าวที่บริเวณรอยต่ออาคารหลักและอาคารส่วนต่อเติม รอยแตกที่พื้นกระเบื้อง ซึ่งรอยแตกร้าวจะเป็นรอยแตกร้าวทะลุ พื้นจะมีลักษณะเอียงประกอบกัน ดังนั้นแล้ว หากต้องการแก้ปัญหาระยะยาวของส่วนต่อเติม การใช้เสาเข็มยาวจะเป็นการแก้ปัญหาการทรุดตัวต่างๆ สำหรับพื้นที่บริเวณดินอ่อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น การใช้เสาเข็มเจาะ หรือเสาเข็มตอก เพื่อให้เสาเข็มได้วางอยู่บนชั้นดินดานหรือทรายแน่น [...]

ต่อเติมบ้านอย่างไร ไม่ให้ทรุด2020-09-29T17:07:53+07:00

บ้านทรุดดูยังไงและวิธีซ่อมโดยการเสริมฐานราก

2021-05-15T15:28:08+07:00

"บ้านทรุด บ้านเอียง แก้ไขได้ ไม่ต้องทุบ" บ้านทรุดดูยังไง? บ้านทรุดดูยังไง เราจะรฅู้ได้อย่างไรว่าบ้านเริ่มทรุด ปัญหารอยร้าวที่แก้เท่าไหร่ก็ไม่หาย ไม่ว่าจะสกัดฉาบใหม่กี่ครั้งก็ตาม นั่นเป็นเพราะการทรุดเอียงนั้นไม่ถูกแก้ไข รอยร้าวที่ผนังจึงแยกตัวออกไม่ว่าจะซ่อมอีกกี่ครั้งก็ตาม บางอาคารอาจมีการทรุดเอียงทั้งหลังโดยที่ไม่มีรอยแตกร้าวเลยก็สามารถเกิดขึ้นได้ เรามาดูลักษณะรอยร้าวทีี่บ่งบอกว่าบ้านทรุดเอียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง ดังนี้ 1. รอยร้าวแบบเฉียง บริเวณผนังอาคาร บ้านทรุดดูยังไง อย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือรอบอร้าว รอยร้าวแบบเฉียงเกิดจากการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากัน โดยเกิดการดึงของผนังทำให้ผนังเกิดรอยแยก ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ รอยแยกจะกว้างมากขึ้น เพื่อตรวจสอบว่ารอยร้าวมีการขยายตัวหรือไม่ ทำได้โดยการวัดความกว้างรอยร้าวและกำกับวันที่ไว้เบื้องต้น ที่บริเวณกึ่งกลาง และปลายของรอยร้าว 2. รอยร้าวที่คานโครงสร้าง รอยร้าวที่คานบริเวณใต้ท้องคานและหลังคาน โดยเป็นรอยร้าวแนวตั้ง ที่เกิดจากการทรุดตัวของเสาแต่ละต้นไม่เท่ากันทำโครงสร้างเกิดการรั้ง 3. รอยร้าว ผนังแยกส่วนต่อเติม โดยมากส่วนต่อเติมจะแยกโครงสร้างกับตัวอาคาร แต่การใช้เสาเข็มสั้น ทำให้มีการแตกร้าวระหว่างรอยต่ออาคารหลักและส่วนต่อเติม หากรอยร้าวมีลักษณะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อการใช้งานอาคารตามมาได้ สำหรับบ้านสำเร็จรูปนั้น จะมีรอยแตกร้าวบริเวณแนวรอยต่อของแต่ละชิ้นส่วน อาทิเช่น รอยร้าวตามแนวนอนระหว่างพท้นกับผนังของอาคาร (kicker) 4. อาการอื่นๆ ในบางกรณีที่บ้านทรุดนั้นไม่มีรอยแตกร้าวเกิดขึ้นเลยก็สามารถเป็นไปได้เนื่องจากมีการทรุดเอียงของทั้งอาคารไปเป็นในแนวระนาบเดียวกัน แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ เช่น กระเบื้องแตกร้าว กระเบื้องโก่ง, ประตูเปิดไม่ได้หรือติดขัด , บานเลื่อนฝืดขึ้น , [...]

บ้านทรุดดูยังไงและวิธีซ่อมโดยการเสริมฐานราก2021-05-15T15:28:08+07:00

OUR SERVICES

Recent Works

COSMO CTC

  • OFFICE
    64-68 ซอยบรมราชชนนี72
    ถนนบรมราชชชนี แขวงศาลาธรรมสพน์
    เขตทวีวัฒนา กทม 10170

  • 02-889-6320
    081-698-5412
  • Monday - Saturday: 8:00 AM - 17:00 PM
Go to Top