“บ้านทรุด บ้านเอียง แก้ไขได้ ไม่ต้องทุบ”

บ้านทรุดดูยังไง?

บ้านทรุดดูยังไง เราจะรฅู้ได้อย่างไรว่าบ้านเริ่มทรุด ปัญหารอยร้าวที่แก้เท่าไหร่ก็ไม่หาย ไม่ว่าจะสกัดฉาบใหม่กี่ครั้งก็ตาม นั่นเป็นเพราะการทรุดเอียงนั้นไม่ถูกแก้ไข รอยร้าวที่ผนังจึงแยกตัวออกไม่ว่าจะซ่อมอีกกี่ครั้งก็ตาม บางอาคารอาจมีการทรุดเอียงทั้งหลังโดยที่ไม่มีรอยแตกร้าวเลยก็สามารถเกิดขึ้นได้

เรามาดูลักษณะรอยร้าวทีี่บ่งบอกว่าบ้านทรุดเอียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง ดังนี้

1. รอยร้าวแบบเฉียง บริเวณผนังอาคาร

บ้านทรุดดูยังไง อย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือรอบอร้าว รอยร้าวแบบเฉียงเกิดจากการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากัน โดยเกิดการดึงของผนังทำให้ผนังเกิดรอยแยก ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ รอยแยกจะกว้างมากขึ้น

เพื่อตรวจสอบว่ารอยร้าวมีการขยายตัวหรือไม่ ทำได้โดยการวัดความกว้างรอยร้าวและกำกับวันที่ไว้เบื้องต้น ที่บริเวณกึ่งกลาง และปลายของรอยร้าว

บ้านทรุด-รอยร้าวเฉียง
บ้านทรุดร้าว-สวนผัก
สำรวจรอยร้าวบ้านทรุด

2. รอยร้าวที่คานโครงสร้าง

รอยร้าวที่คานบริเวณใต้ท้องคานและหลังคาน โดยเป็นรอยร้าวแนวตั้ง ที่เกิดจากการทรุดตัวของเสาแต่ละต้นไม่เท่ากันทำโครงสร้างเกิดการรั้ง

รอยร้าวทรุดเอียงที่คาน

3. รอยร้าว ผนังแยกส่วนต่อเติม

โดยมากส่วนต่อเติมจะแยกโครงสร้างกับตัวอาคาร แต่การใช้เสาเข็มสั้น ทำให้มีการแตกร้าวระหว่างรอยต่ออาคารหลักและส่วนต่อเติม หากรอยร้าวมีลักษณะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อการใช้งานอาคารตามมาได้

สำหรับบ้านสำเร็จรูปนั้น จะมีรอยแตกร้าวบริเวณแนวรอยต่อของแต่ละชิ้นส่วน อาทิเช่น รอยร้าวตามแนวนอนระหว่างพท้นกับผนังของอาคาร (kicker)

บ้านทรุด ผนังแยก

4. อาการอื่นๆ

ในบางกรณีที่บ้านทรุดนั้นไม่มีรอยแตกร้าวเกิดขึ้นเลยก็สามารถเป็นไปได้เนื่องจากมีการทรุดเอียงของทั้งอาคารไปเป็นในแนวระนาบเดียวกัน แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ เช่น กระเบื้องแตกร้าว กระเบื้องโก่ง, ประตูเปิดไม่ได้หรือติดขัด , บานเลื่อนฝืดขึ้น , ค่าระดับของตัวอาคาร เป็นต้น

ไมโครไพล์-บ้านทรุด
micropile-underpinning
บ้านทรุด-กระเบื้องโก่ง

แก้ไขปัญหาบ้านทรุด ปรึกษาเราฟรี

รับประกันผลงาน 5 ปี

ออกแบบและควบคุมงานโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 ปี

ติดต่อเรา

“เมื่อรู้ว่าบ้านทรุดดูยังไง เราควรรู้สาเหตุหลักๆ ของบ้านทรุดเพื่อเป็นการป้องกันต่อไป”

สาเหตุบ้านทรุดมีอะไรบ้าง?

นอกจากจะรู้ว่าบ้านทรุดดูยังไงแล้ว เราควรทราบสาเหตุบ้านทรุดด้วยเพื่อหาทางป้องกัน

อาคารทรุดแตกร้าวส่วนใหญ่ หากเกิดจากปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน หรือไม่ได้ทรุดตัวเป็นระนาบ อาจส่งผลให้โครงสร้างผนัง คาน เสาเกิดการแตกร้าวด้วย นอกเหนือจากเสาเข็มที่เสียหายแล้ว

1. การเลือกใช้เสาเข็ม

  • เลือกขนาดเสาเข็มไม่เพียงพอต่อกำลังรับน้ำหนักของโครงสร้าง

  • เลือกใช้เสาเข็มสั้น เสาเข็มไม่ได้ลึกถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักได้

  • เสาเข็มเจาะไม่สมบูรณ์ ไม่มีการตรวจสอบขณะก่อสร้าง (เสาเข็มเจาะมีโอกาสที่เนื้อคอนกรีตจะไม่ต่อเนื่องทั้งต้น)

บ้านทรุดเข็มสั้น
บ้านทรุดเสาเข็มยาวไม่พอ

2. การควบคุมงานก่อสร้าง

  • ไม่ได้ทำการตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็ม ทำให้เสาเข็มเยื้องศูนย์

  • เสาเข็มตอกไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เมื่อเวลาตอกลงไปในชั้นดินแล้วเกิดการหักของเสาเข็ม

  • การก่อสร้างฐานรากและเสาตอม่อไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เสาเข็มหลุดออกฐานราก

เสาเข็มเยื้องศูนย์
เสาเข็มหัก
ฐานรากมีรอยแตกร้าว

วิธีการแก้ไขซ่อมแซมบ้านทรุดบ้านเอียง

อาคารที่ทรุด หลักที่ใช้ในการพิจารณาว่าจะทำการซ่อมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ ขณะที่ทำการซ่อมแซมอาคารจะไม่มีโอกาสพังลงมา หรือได้รับการค้ำยันทันท่วงทีก่อนที่จะเริ่มทำการซ่อม หรือ โครงสร้างด้านบนมีความแข็งแรงเพียงพอ นอกจากนี้ งบประมาณในการซ่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างการสร้างใหม่ หรือซ่อมแซมแก้ไข ซึ่งหากการซ่อมแซมไม่กระทบงานตกแต่งมากนัก วิธีการซ่อมแซมเสริมกำลังเป็นวิธีที่นิยมใช้

  • เข้าทำการกั้นพื้นที่บริเวณที่ทำงาน

  • ขุดเปิดหลุมเจาะ ขนาด 1-1.5 ม.เพื่อให้คนสามารถลงไปทำงานได้

  • เสริมเสาเข็มไมโครไพล์ตามที่ออกแบบ และบันทึกข้อมูลความยาวและกำลังรับน้ำหนักแต่ละตำแหน่ง

  • เทคอนกรีตลงในเสาเข็มและทำฐานรากใหม่เพื่อรับน้ำหนักโครงสร้าง

  • คืนสภาพพื้นที่ ทำงาน

ผลงานซ่อมบ้านทรุด